ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล : |
|||
1.โบราณสถานวัดพระธาตุสามดวง
|
พระธาตุตำหนักธรรม ตั้งอยู่ที่ดินสาธารณะประโยชน์ หมู่ที่ 4 บ้านห้วยยางขามเหนือ ตำบลห้วยยางขาม อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นอักษรว่าสร้างมาแต่สมัยใด แต่จะเทียบหลักฐานของซากโบราณสถานและวัตถุโบราณที่พบบริเวณนี้แล้วจะถือได้ว่าเป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นร่วมสมัยกับเมืองลอและเมืองโบราณในหลาย ๆ แห่งในจังหวัดพะเยา
จากคำบอกเล่าผู้ที่เคยพบเห็นมาก่อนว่า ลักษณะขององค์พระธาตุเจดีย์จะเป็นรูปทรงแบบศิลปะของเชียงแสน และองค์พระพุทธรูปที่เป็นแบบหินทรายศิลปะช่างพะเยา อันได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย ที่ผ่านเข้ามาทางพม่าอีกที่หนึ่ง ซึ่งมีพบมากมายทั้งที่เป็นองค์เล็กและองค์ใหญ่ ซึ่งจะอยู่ในราวพุทธสตวรรษที่ 18 ลักษณะสภาพของวดโบราณของที่ตั้ง องค์พระธาตุประจำตำบลห้วยยางขามปัจจุบันนี้นั้นมีการจัดรูปแบบอันงดงามตามแบบโบราณล้านนา โดยจะแบ่งเป็น 2 เขต ได้แก่
1.เขตพุทธวาสอันประกอบด้วยพระวิหารและองค์พระธาตุเจ้าเจดีย์ล้อมด้วยกำแพงแก้วและมีสุ้มเดินเข้าออก 2 ทิศ คือ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ภายในบริเวณปูด้วยก้อนอิฐเต็มหมดอิฐบางก้อนลงน้ำเคลือบสวยงามมาก 2.เขตสิมาวาสอันมีอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก จะมีหมู่กุฎิพระสงฆ์ ด้านเหนือจะมีหอระฆัง – หอกลอง แต่ละอย่างจะก่อข้างด้วยก้อนอิฐ ฐานล่างของเสาวิหารจะเป็นหินทรายแกะมุงหลังคาด้วยดินสอ
จากหลักฐานเหล่านี้พอจะสันนิษฐานได้ว่า พระธาตุตำหนักธรรมจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 อันอยู่ในยุคเดียวกันเวียงลอ ซึ่งในบริเวณหมู่บ้านยางขามยังมีซากวัดโบราณอีก 3 แห่ง จึงถือได้ว่าที่แห่งนี้เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนอาจจะเป็นเมืองรอบนอกหรือเมืองลูกหลวงของเมืองลออีกแห่งหนึ่ง
ต่อมาในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2538 เจ้าอธิการหน่อแก้ว ถาวรธัมโม เจ้าคณะตำบลห้วยยางขามพร้อมคณะสงฆ์ตำบลห้วยยางขามและกำนันผู้ใหญ่บ้าน พร้อมทั้งศรัทธาประชาชนในตำบลห้วยยางขามได้ร่วมกันสร้างองค์พระธาตุเจ้าครอบองค์เดิมอีกทีหนึ่ง ก่อนมีการปรับแต่งบริเวณนี้ได้พบ ผอบหินทรายขนาดใหญ่ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปสัมริตปิดทองอีก 2 องค์ ต่อมาจึงได้ทำพิธีบรรจุกลับลงไปในองค์พระธาตุดังเดิมในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2540
สำหรับลักษณะองค์พระธาตุบรรจุเป็นแบบ 2 ชั้นยกสูงสร้างแบบศิลปล้านนาเป็นพระธาตุเจดีย์ล้านนาทรงเครื่อง ทั้ง 4 ด้านมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ มี 5 ยอด ปิดกระจกสีทองทั้ง 5 ยอด มีบันไดขึ้นลง 4 ทิศ
ทุกปีในวันเดือน 6 เหนือ เดือน 4 ได้ ขึ้น 15 ค่ำของทุกปีจะมีประเพณีสรงน้ำองค์พระธาตุโดยมีขบวนแห่บวงสรวงจากหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบลห้วยยางขามเพื่อเป็นการสักการะบูชาต่อองค์พระธาตุเจ้าเป็นประจำทุกปี
|
4.ม่อนหินเขียว
5.ไหว้พระหินเขียว 1,000 องค์ วัดบุญเรือง
6.วัดห้วยเกี๋ยง
7. ข่วงนกยูงอ่างเก็บน้ำห้วยยางขาม
ตามนโยบายของจังหวัดพะเยาที่กำหนดให้ “พะเยาเป็นเมืองแห่งนกยูงไทย” เนื่องจากปัจจุบันมีนกยูง สายพันธุ์ไทยจำนวนมากที่ออกมาหากินในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ซึ่งอำเภอจุนร่วมกับชมรมอนุรักษ์นกยูงไทยอำเภอจุน ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการสานต่อ และขยายเครือข่ายชุมชนต้นแบบรักษ์นกยูงไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายประชาชนที่มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์นกยูงในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ของประชาชนให้มีความภาคภูมิใจในระบบนิเวศทางชีวภาพของท้องถิ่นตนเอง รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอจุน เพราะในช่วงนี้ถือว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอมีสภาพอุดมสมบูรณ์ไปด้วยนกยูง และ ถือว่าเป็นแหล่งที่มีการศึกษาวิจัยพบว่ามีนกอยู่อาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป นกยูงจำนวนมากจะออกมาหากินบริเวณข่วงในพื้นที่อำเภอจุน มากกว่า 20 แห่ง ซึ่งในเขตตำบลห้วยยางขามถือเป็นอีกแหล่งที่นกยูงออกมาหากิน โดยเฉพาะเขตอ่างเก็บน้ำห้วยยางขาม ซึ่งนอกจากจะมีนกยูง ก็จะมีสัตว์อื่นๆอีกด้วย เช่น เก้ง กวาง ไก่ป่า นกต่างๆ และสัตว์ชนิดอื่นๆ
แต่เมื่อนกยูง สัตว์ป่าและนกต่างๆออกมาหากินในช่วงนี้ จะไปรบกวนต้นข้าวและผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆของเกษตรกร ที่มีพื้นที่ติดกับเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหานี้ด้วยการจัดสร้างแหล่งอาหารนกยูง โดยการจัดทำโครงการจัดแปลงพืช อาหารสัตว์ และข่วงนกยูง ขึ้น จากการสำรวจพบว่าบริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยยางขาม เป็นแหล่งที่เหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำและมีความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ดังนั้นจึงต้องมีการปรับภูมิทัศน์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์และข่วงนกยูงต่อไป