อบต. คืออะไร

อบต. คืออะไร          

  • เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบล โดยปกติจะประกอบด้วยหลายหมู่บ้านหลายชุมชนในเขต อบต.นั้น 
  • มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น 
  • มีชื่อและเขตพื้นที่รับผิดชอบของตนเองโดยเฉพาะ 

 

     ความหมายโดยรวมของ อบต. 

          “ องค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด มีพื้นที่เท่ากับตำบลแต่ละตำบล จัดตั้งมาจากสภาตำบลที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดและมีจำนวนราษฎรไม่น้อยกว่า 2,000 คน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อดูแลทุกข์สุขและให้บริการประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล เขต อบต. แทนรัฐบาลกลาง มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งมีงบประมาณ และพนักงานเจ้าหน้าที่ของ อบต. เอง” 

 

     อบต.เกิดขึ้นได้อย่างไร 

     1) อบต.เกิดขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยมีเกณฑ์พิจารณาดังนี้ 

         1.1) เป็นสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมา ติดต่อกัน 3 ปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท และ 

         1.2) กฎหมายกำหนดให้สภาตำบลและ อบต. ที่มีประชากรไม่ถึง 2,000 คน ต้องยุบรวมพื้นที่เข้ากับ อบต. อื่นหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีเขตติดต่อกันกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน นอกจากสภาตำบลที่มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะหรืออยู่ห่างไกลไม่สามารถติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้สะดวก ดังนั้น สภาตำบลที่มีประชากรไม่ถึง 2,000 คน ก็จะไม่ได้รับการพิจารณาจัดตั้งเป็น อบต. 

     2) ได้มีการประกาศจัดตั้ง อบต. แล้วหลายแห่ง และได้มีประกาศยุบรวม อบต. กับเทศบาล และ อบต. ด้วยกันหลายแห่ง : ปัจจุบันมี อบต. จำนวน 6,636 แห่ง ( ข้อมูลได้มาจากวารสารของมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) 

 

   การดูแลการทำงานของ อบต. การกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของ อบต.อย่างไร     (1) นายอำเภอมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของ อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการ 

     (2) การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามข้อ (1) ให้นายอำเภอมีอำนาจเรียกสมาชิก สภา อบต. นายก อบต. รองนายก อบต. เลขานุการนายก อบต. พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างของ อบต. มาชี้แจ้งหรือสอบสวน ตลอดจนเรียกรายงานและเอกสารใด จาก อบต. มาตรวจสอบได้ 

     (3) เมื่อนายอำเภอเห็นว่า นายก อบต. ผู้ใดปฏิบัติการในทางที่อาจเป็นการเสียหายแก่ อบต. หรือเสียหายแก่ราชการและนายอำเภอได้ชี้แจ้งแนะนำตักเตือนแล้วไม่ปฏิบัติตาม ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนที่จะรอช้าไม่ได้ ให้นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายก อบต. ไว้ตามที่เห็นสมควรได้ แล้วรีบรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายใน 15 วัน เพื่อผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยสั่งการตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว 

     (4) การกระทำของนายก อบต. ที่ฝ่าฝืนคำสั่งนายอำเภอ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณีตาม 

     (5) ไม่มีผลผูกผันธ์กับ อบต. 

     (6) หากปรากฏว่า นายก อบต. รองนายก อบต. ประธานสภา อบต. หรือรองประธานสภา อบต. กระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ให้นายอำเภอสอบสวนโดยเร็ว: ในกรณีที่ผลการสอบสวน ปรากฏว่ามีพฤติการณ์ดังกล่าวจริง ให้นายอำเภอเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมด้วยก็ได้ คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด 

การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. 
     ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาอบต. การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด 

ความหมาย/ หน้าที่ของนายกฯ       นายก อบต. คือใคร มีที่มาอย่างไร  มีหน้าที่อะไร และมีใครเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการบ้าง 
      นายก อบต. คือหัวหน้าผู้บริหาร อบต. เป็นควบคุมและรับผิดชอบการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมายและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างของ อบต. 

การเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งของนายก อบต. 
          อบต. มีนายก อบต. 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น : ดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ 

     ผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของ นายก อบต. ดังนี้ 
          (1) รองนายก อบต. : นายก อบต. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบต. ซึ่งมิใช่สมาชิกสภา อบต. ได้ไม่เกิน 2 คน 
          (2) เลขานุการนายก อบต. : นายก อบต. สามารถแต่งตั้ง เลขานุการนายก อบต. จากผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกสภา อบต. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ 1 คน 

อำนาจหน้าที่ของ นายก อบต.
          1. ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายก ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสมาชิกสภา อบต. ทุกคน และจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี 
          2. มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 59 ดังนี้ 
              (1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับทางราชการ 
              (2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบต. 
              (3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบต. และเลขานุการนายก อบต. วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบต. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 
รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบต. 
              (4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น 
          3. ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างและพนักงานจ้างของ อบต. 
          4. นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซึ่งนายก อบต. มอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต. และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุมแต่มี่สิทธิออกเสียงลงคะแนน 
          5. กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธาน อบต. หรือ สภา อบต. ถูกยุบเพราะว่าไม่สามารถจัดให้มีการประชุมสภา อบต. ครั้งแรกภายใน 15 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. หรือมีการประชุมแต่ไม่สามารถเลือกประธานสภา อบต.ได้ หากกรณีสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้ไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายก อบต. จะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้ แต่เมื่อได้เลือกประสภา อบต. แล้วให้เลือกประธานสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภานใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเลือกตั้งประธานสภา อบต. 
          6. กรณีนายกปฏิบัติการที่อาจเสียหายแก่ อบต. หรือเสียหายแก่ราชการ และนายอำเภอได้ชี้แจ้งแนะนำแล้วไม่ปฏิบัติตาม ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนที่จะรอช้าไม่ได้ นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายก อบต. ไว้ตามที่เห็นสมควรได้ แล้วรีบรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน 15 วัน เพื่อวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว: การกระทำของนายก อบต.ที่ฝ่าฝืนคำสั่งนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าว ไม่มีผลผูกพันกับ อบต. 
          7. เป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 
          8. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ อบต. 

จาก https://sites.google.com/site/phatcharapornprasiton/xbt-khux-xari

ติดต่อเรา